การใช้ยาลดความอ้วนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้เสริมในกรณีที่ผู้ป่วยโรคอ้วนได้ผ่านวิธีการลดความอ้วนด้วยตนเองแล้วแต่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยอ้วนจนเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่อสุขภาพ หากปล่อยไว้โรคอ้วนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่นั้นอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต การใช้ยาลดความอ้วนเร่งด่วนเพื่อความสวยงามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ นอกจากนั้นการใช้ยาลดความอ้วนพึงต้องระวังและคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้
- การใช้ยาลดความอ้วนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการช่วยควบคุมน้ำหนักให้มีประสิทธิภาพ และจะต้องใช้ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังและการปรับพฤติกรรม
- ใช้ยาลดความอ้วนเมื่อผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายกาย (Body Mass Index) ตั้งแต่ 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรือที่ระดับ 30.00 ขึ้นไป ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาลดความอ้วน
- ก่อนที่จะใช้ยาลดความอ้วน ควรเริ่มจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และหากน้ำหนักลดลงเกินร้อยละ 10 ไม่จำเป็นต้องใช้ยา
- ควรเลือกใช้ยาลดความอ้วนกลุ่มยาลดความอยากอาหาร กรณีที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดจากความหิว หรือรับประทานอาหารมากเกินไป หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรงเช่น ข้อเข่าอักเสบรุนแรง เป็นต้น
- การใช้ยาลดความอ้วนกลุ่มยาลดความอยากอาหาร ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 3 เดือน เพราะประสิทธิภาพจะลดลง อาจทำให้น้ำหนักตัวกลับเพิ่มขึ้น และอาจมีอาการติดยาได้
- ขณะใช้ยาลดความอ้วน น้ำหนักควรลดลง 0.5 – 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หากไม่เป็นไปตามนี้ต้องเปลี่ยนยาเนื่องจากแสดงว่ายาไม่ได้ผล
- การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาระบายและธัยรอยด์ฮอร์โมน ไม่มีผลในการลดน้ำหนัก เป็นการใช้ยาในทางที่ผิด
- ควรปรึกษาเภสัชกรหรืออยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เมื่อต้องใช้ยาลดความอ้วน
รู้ก่อน…กินยาลดความอ้วน
ยาที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทยรับรองให้ใช้เป็นยาลดความอ้วน ได้แก่ Phentermine, Diethylpropion และ Orlistat แต่เนื่องจากยาบางตัวอาจนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ ทำให้มีการรับรองให้ใช้ในระยะสั้นและต้องสั่งจ่ายจากสถานพยาบาลเท่านั้น ในปัจจุบัน Orlistat เป็นยาลดความอ้วนเพียงตัวเดียวที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านยา ส่วนยา Sibutramine นั้น บริษัทยาได้ขอถอนทะเบียนแล้ว เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากการทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะได้
ฤทธิ์ของยาลดความอ้วนประเภทหนึ่งก็คือ “กดความอยากอาหาร” ตัวอย่างยาลดความอ้วนที่ออกฤทธิ์ที่สมองทำให้รู้สึกอิ่มหรือไม่หิว ได้แก่ Phentermine, Fenfluramine, Dexfenfluramine, Methamphetamine, Phenylpropanolamine, Silbutramine เป็นต้น ยาเหล่านี้จะมาในรูปของยาเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่ง จะช่วยลดน้ำหนักโดยการหลอกร่างกายให้เชื่อว่าไม่มีความหิว หรือหลอกว่าอิ่มแล้วด้วยการเพิ่มเซโรโทนิน หรือคาเทโคลามิน สารในสมองซึ่งส่งผลกระทบกับอารมณ์และความอยากอาหาร
อีกประเภทหนึ่งก็คือ ตัวยาซึ่งจะไป “ยับยั้งการดูดซึมไขมัน” ตัวอย่างยาลดความอ้วนที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการย่อยสลายไขมันในลำไส้ ได้แก่ Orlistat (ชื่อการค้าคือ Xenical) ซึ่งจะทำงานโดยการหยุดยั้งประมาณ 30% ของไขมันทั้งหมดที่คุณรับประทานเข้าไปไม่ให้มีการดูดซึมโดยร่างกาย และขับออกไปพร้อมกับอุจจาระ โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักจะลดได้ภายใน 6 เดือนแรก นับเป็นยาชนิดเดียวที่ทาง FDA สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้กับการลดน้ำหนักระยะยาว แต่ก็ยังมีการห้ามไม่ให้ใช้นานเกิน 2 ปี
ผลเสียของยาลดความอ้วน
“โรคอ้วน” หรือ “ความอ้วน” เป็นสิ่งที่ต้องใช้การรักษาในระยะยาวเพื่อให้น้ำหนักลดและคงที่ไว้ เช่นเดียวกับในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง เป็นต้น และการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอาจจะเหมาะสำหรับคนบางกลุ่ม ในขณะที่ผลข้างเคียงยาลดความอ้วนบางตัวอาจจะน้อย แต่ก็เคยมีรายงานอาการแทรกซ้อนอันตรายในภายหลัง ยาลดความอ้วนแบบเร่งด่วนไม่ใช่ทางแก้สำหรับโรคอ้วนทุกประเภท ดังนั้นลองมาดูผลเสียของยาลดความอ้วนกันก่อน ว่าจะส่งผลต่อร่างกายของคุณอย่างไรบ้าง
- มีผลต่อจิตและระบบประสาท
- คอแห้ง
- ใจสั่น
- นอนไม่หลับ
- ท้องผูก
- อารมณ์แปรปรวน
- ท้องเสีย
- ขาดสารอาหารบางชนิด
- อ้วนมากขึ้นกว่าเดิม
- เสียชีวิต
อันตรายจากยาลดความอ้วน
หากคุณอยากสวยแบบรวดเร็ว โดยใช้ “ยาลดความอ้วนแบบฉีด” เข้าร่างกายที่มีการผสมสารแอลคาร์นิทีนและวิตามินที่นิยมใช้ในหมู่ดารา พบว่าปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยยืนยันถึงประสิทธิภาพของยาลดความอ้วนแบบฉีด และไม่มีการขึ้นทะเบียนหรืออนุญาตให้ใช้ยาดังกล่าว ตามปกติสารแอลคาร์นิทีน (L – Carnitine) จะช่วยในเรื่องของการเผาผลาญพลังงาน แต่หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เกิดใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
คนรุ่นใหม่นิยมความสวยงามแบบรวดเร็ว จนลืมยั้งคิด แม้แต่ “กาแฟลดความอ้วน” ที่พบเห็นได้ตามโฆษณา ความจริงแล้วการดื่มกาแฟไม่ได้มีผลลดความอ้วน ตรงกันข้ามอาจได้รับน้ำตาลเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และอาจได้รับอันตรายจากสารในกาแฟเช่น คาเฟอีน เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย และยังพบว่าในกาแฟลดน้ำหนักบางชนิดมีการผสมสารอันตรายต่อสุขภาพเช่น ซาบูทามีน ซึ่งหากดื่มเข้าไปจะทำให้ปากแห้ง ไม่อยากรับประทานอาหาร แถมยังมีโอกาสได้รับอันตรายถึงชีวิตหากได้รับในปริมาณมาก
อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วนที่ได้ผลดีที่สุดนั้นต้องประกอบด้วย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการปรับพฤติกรรม การใช้ยาลดความอ้วนสามารถนำมาใช้เพียงเพื่อเสริมวิธีการดังกล่าวเท่านั้น ผู้ป่วยโรคอ้วนที่จำเป็นต้องใช้ยาควรตระหนักเสมอว่าการใช้ยาให้ได้ประสิทธิผลต้องมีการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมด้วย การใช้ยาลดความอ้วนให้ผลแค่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อเลิกใช้ยาก็จะมีโอกาสสูงในการกลับมาเป็นโรคอ้วนดังเดิม ดังนั้นคุณที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องก่อนการใช้ทุกครั้ง
เข้าร่วมสัมมนา อบรมฟรี

ธุรกิจออนไลน์ขายปลีกอีเบย์ เว็บไซต์ eBay เหมาะกับท่านที่ต้องการขยายช่องทางขายปลีก ที่ต้นทุนต่ำ กระจายสู่สายตาคนทั่วโลก พบเคล็บลับ เทคนิค ที่จะสอนบอกให้ท่านสร้างรายได้หลัก 100,000 - 1,000,000 บาท ได้อย่างไร?
==> รายละเอียดและการสมัครอบรมอีเบย์

โปรโมทธุรกิจด้วยเฟสบุ๊ค สัมมนาที่จะบอกเทคนิค เปิดเผยเคล็ดลับ การสร้างความสำเร็จในการโปรโมทด้วย Facebook ทำได้อย่างไรให้ได้ยอดคนดูเป็นแสนโดยไม่ใช้เงินสักบาท และลงโฆษณาอย่างไร ให้ได้ผลตอบแทนมากกว่า 10 เท่า จากค่าโฆษณา
==> รายละเอียดและการสมัครอบรม Facebook

ธุรกิจออนไลน์ขายส่งด้วย Alibaba เว็บไซต์อาลีบาบาเป็นเว็บขายส่งที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีคนไทยสร้างรายได้เป็นหลักล้าน จากช่องทางนี้มากมาย พบกับสัมมนาที่เปิดช่องทางการค้า การนำเข้า-ส่งออก ขายส่ง ชี้แนะช่องทางสร้างรายได้จาก Alibaba เขาทำกันได้อย่างไร?
==> รายละเอียดและการสมัครสัมมนาอาลีบาบา